วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้ 1


AECT ย่อมาจาก
ASSOCIATION FOR EDUCATIONAL COMMUNICATIONS AND TECHNOLOGY เป็นหน่วยงานที่มีประวัติอันยาวนานในเรื่อง  การออกแบบสื่อการสอนและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของครู (ผู้ผลิตสื่อ)  professional    โดยในปี  1971  ประธานใหญ่  คือ  Robert Heinich  ได้กำหนดหน้าที่ของ  AECT   ในสองประการคือ  การแต่งตั้งและการรับรอง  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก  Clarence Bergeson และ  William Grady  ได้มีการออกมาตรฐานในการแต่งตั้งในรูปแบบหนังสือที่มีชื่อว่า  Basic Guidelines for Media and Technology in Teacher Education (AECT, 1971).   จากนั้นก็ได้มีการทำวิจัยมาโดยตลอดโดยที่ต่อมาในปี  1974  ได้เกิดงานวิจัยที่ทำขึ้นสามเรื่องคือ  The  Accreditation and Certification Frame of Reference (Prigge, 1974),  the Guidelines for the Certification of Personnel in Educational Communications and Technology (AECT, 1974c), and the AECT Guidelines for Advanced Programs in Educational Communications and Technology (AECT, 1974a).
  อันเป็นมาตรฐานหลักในยุคนั้น  อีกทั้งมีการร่วมมือกับ  NCATE (National Council for the Accreditation of Teacher Education )  ได้มีการจัดรูปแบบมาตรฐานใหม่    ให้คำแนะนำแนวทางสู่ความเป็นมืออาชีพเพื่อการประดิษฐ์สื่อ  ในปี  1990  ทั้งสองกลุ่ม   AECT และ  NCATE   ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับผู้ผลิตสื่อมืออาชีพ  ขอบข่ายมี  2  ระดับ  คือ
                      1.   ในระดับเบื้องต้น  เตรียมเข้าสู่ความเป็น   Media Specialist ซึ่ง Media Specialist  ผู้เกี่ยวข้องในระดับรากหญ้า  ในการออกแบบ   สร้างองค์ความรู้โดยอาศัย  ทฤษฎีพื้นฐานของบลูม 
            2.  ในระดับ  Advance  Program ส่วน Advance  Program   ศึกษาทฤษฎีการวิจัย  มีการสังเคราะห์  วิเคราะห์   การจัดการขั้นสูงสร้างองค์ความรู้โดยอาศัยทฤษฎีพื้นฐานของบลูม 



ความหมายของ  Instructional technology (IT) 
                เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการปฏิบัติ  ออกแบบพัฒนา  การนำไปใช้  การจัดการ  การประเมินผล  ของกระบวนการและทรัพยากร  เพื่อการเรียนรู้  ประกอบด้วย  กฎ  ทฤษฎี  หลักการ  ข้อเสนอที่จะสนับสนุนองค์ความรู้  



Standards  For   NCATE
            มีองค์ประกอบเกี่ยวกับ   การ  ออกแบบ  การพัฒนา  การนำไปใช้   การจัดการ  การประเมินผล  ซึ่งสามารถแสดงได้ดังรูป




กระบวนการกำหนดเงื่อนไขในการเรียนรู้ 
-         Design   กระบวนการเจาะจงเงื่อนไขการเรียน
-         Development   เปลี่ยนแปลงมาจากการออกแบบ
-         Utilization   การใช้ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
-         Management  กระบวนการควบคุมเทคโนโลยีการสอน
-         Evaluation  เป็นการประเมิน
Design  ประกอบไปด้วย
1.       ออกแบบระบบ
2.       ออกแบบเนื้อหาสาระ
3.       ยุทธศาสตร์การสอน
4.       คุณลักษณะของผู้เรียน
    
 Design  เป็นกระบวนการที่เฉพาะเจาะจง  เงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้  อ้างถึง
( Seels  &  Richey)    ลำดับขั้นตอนในการจัดกระบวนการ  มีดังนี้
                                1.  ขั้นตอนการวิเคราะห์บทเรียน  ผู้เรียน   เนื้อหา
                                2.  การออกแบบ
                                3.  การพัฒนา
                                4.  การนำไปใช้
                                5.  การประเมินผลการสอน
                                                -  วิเคราะห์ผู้เรียน  ว่าจะเรียนอะไร  แบบไหน  และเนื้อหาที่ต้องกาเรียน
                                                ออกแบบ    เพื่อจะบอกว่าเรียนอย่างไร
                                                -  พัฒนา    เป็นกระบวนการที่ผู้สอนผลิตวัสดุการเรียนการสอน
                                                -  การนำไปใช้  นำไปใช้จริง
                                                -  การประเมิน   เป็นการค้นหาว่า  การสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
                                              -  การจัดลำดับขั้นตอนการเรียน  การเลือกและการจัดลำดับเหตุการณ์และกิจกรรมในการเรียน
                                                -  ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ให้การเรียนมีประสิทธิผลเป็นอย่างไร

Development  ประกอบไปด้วย
1.       สื่อ  สิ่งพิมพ์
2.       สื่อโสตทัศน์
3.       ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน
4.       เป็นการรวมตัวของเทคโนโลยีต่าง ๆ
       Development   เป็นการพัฒนากระบวนการเปลี่ยนรูป  จากสิ่งที่เราออกแบบ
มาสู่สภาพความเป็นจริง
                                                1.  เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์  เช่น  หนังสือ  สิ่งพิมพ์ภาพนิ่ง  ซึ่งสิ่งพิมพ์อาจจะประกอบไปด้วย  รูปภาพ   ข้อความ  ตัวอักษร
                                                2.  สิ่งที่มีอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเกี่ยวข้อง  จะนำเสนอเป็นรูปธรรมและนามธรรม
                                                3.  มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการประเมินผล  เป็นการพัฒนาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ให้มีการจัดเก็บข้อมูล  ข่าวสารในรูปแบบดิจิตอล
                                                4.  การรวมเอาสื่อหลายประเภทมารวมกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม


Utilization   การนำสื่อไปใช้ ประกอบไปด้วย
1.       การใช้สื่อ
2.       การเผยแพร่นวัตกรรม
3.       การนำไปใช้
4.       นโยบาย
Utilization   การนำไปใช้
1.  ทั้งส่วนที่เป็นกระบวนการ  และทรัพยากรในการเรียนรู้   มีความ
จำเป็นต้องกำหนดให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อและกิจกรรมนั้น ๆ  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  มีการเตรียมตัวผู้เรียนและกำหนดผลตอบสนอง  และให้คำแนะนำระหว่างการเรียน  มีการแจ้งผลการประเมินให้ผู้เรียนทราบ
                                2.  การเผยแพร่นวัตกรรม  เป็นกระบวนการในการสื่อสาร  ซึ่งขึ้นอยู่กับการวางแผนและวัตถุประสงค์ในการเลือกรับ    การเลือกใช้สื่อการสอนตามสภาพความเป็นจริง   มีการใช้อย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอน  ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล สร้างให้สอดคล้องกับสภาพและบริบทของการเรียน

Management  การจัดการ ประกอบไปด้วย
1.       โครงการ
2.       ทรัพยากร
3.       การจัดการระบบบริการ
4.       ข้อมูลสารสนเทศ
Management  เกี่ยวกับการควบคุมการใช้  IT  และเทคโนโลยีการสอน 
ประกอบด้วยการวางแผน  การจัดการ   การประสานงาน  และการให้คำแนะนำ
                                1.  การจัดการโครงการ  เกี่ยวกับการวางแผน  การติดตาม  ควบคุมการออกแบบและการพัฒนาการสอน
                                2.  การบริหารทรัพยากร  เป็นการควบคุมทรัพยากรที่สนับสนุนระบบและการบริการ
                                3.  การจัดการระบบบริการ   วิธีการในการนำเอาองค์ความรู้ไปสู่ผู้เรียน  เกี่ยวข้องกับ  Hardware, software  ผู้ใช้  ผู้พัฒนา  ผู้ออกแบบ  ผู้สอน
                                4.  การจัดการข้อมูลข่าวสาร   เป็นการวางแผน  ติดตาม  ควบคุมให้การเก็บรวบรวมการถ่ายโอน  หรือกระบวนการในการจัดการทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้


      Evaluation  การประเมินผล ประกอบไปด้วย
1.       วิเคราะห์ปัญหา
2.       เงื่อนไขการวัดประเมินผล
3.       ประเมินระหว่างเรียน
4.       การประเมินหลังเรียน
   
                           Evaluation    เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตัดสินใจ  ว่ากระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมหรือไม่
                                -  ปัญหามีตัวแปรอะไรบ้าง   โดยการใช้สารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ
                                -   วิธีการในการตัดสินใจว่า  ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
                                -  เป็นการวัดระหว่างเรียนและหลังเรียน  วัดระหว่างเรียนเพื่อดูว้าผู้เรียนรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมหรือไม่  วัดหลังเรียนเพื่อ ประเมินและใช้ในการตัดสินใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น